ข้อมูลพื้นฐาน

  • สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล

๑. ด้านกายภาพ

๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

ที่ตั้งของตำบลน้ำโมงเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าบ่อ  มีจำนวน  13  หมู่บ้าน  อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมง  จำนวน  12  หมู่บ้าน นอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมง  จำนวน  1  หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๘ เป็นเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายเนื้อที่  มีพื้นที่ทั้งหมด  62.76  ตร.ม.  หรือประมาณ  3๕,๔๗๕  ไร่

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ และ ตำบลโพธิ์ตาก กิ่งอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบ้านว่าน, ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันออก ติดกับ เทศบาลตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

สภาพทางภูมิศาสตร์ตำบลน้ำโมง

มีลักษณะเป็นโคกใหญ่   อยู่ติดกับห้วยโมงที่มีต้นกำเนิดจากภูพระบาทที่ไหลผ่านบ้านน้ำโมง  ออกสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอท่าบ่อ  ตลอดแนวฝั่งน้ำและป่าโคกใหญ่  ที่มีสภาพเป็นป่าทาม  หรือป่าดงดิบ  อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น  เช่น  ไม้กะเบา  ไม้ยูง  ไม้ยาง  ไม้ตะเคียน  และต้นไขว้น้ำ  ที่มีราก  ขนาดใหญ่  ชอนไชหยั่งลึกลงแม่น้ำอย่างเหนียวแน่น

สภาพป่าที่สมบูรณ์  ที่เต็มไปด้วยสัตว์บก  และนกน้ำนานาชนิด  นกยูงมีจำนวนมากเป็นพิเศษ  ยามใดที่แดดออกในตอนเช้า  ฝูงนกยูงตัวผู้ต่างออกมาร่ายรำฟ่ายฟ้อนรำแพนหาง  อวดอ้างตัวเมียเพื่อหาคู่  ผู้คนเห็นจนชินตาถือเป็นเรื่องปกติ  บ้างก็หยุดชม  บ้างก็เดินเข้าไปดูใกล้ๆ  ดังต้องมนต์สะกด  บ้างก็ล่าเป็นอาหารก็มีไม่น้อยทำให้นกยูงเหลือลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

นกยูงถือเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่นที่บอกถึงความอุดมสมบูรณ์  และความมีชีวิตชีวาของธรรมชาติ  ทำให้เกิดการห้ามล่านกยูงขึ้นมาเพื่อเตือนสตินักล่า  โดยสร้างพระธาตุไว้ในบริเวณวัดเก่าแก่ของหมู่บ้านเพื่อให้ถือเป็นเขตอภัยทาน

ชุมชนอาศัย

                         ชุมชนแห่งนี้  เมื่อแรกเริ่ม  เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก  ชนพื้นเมืองน่าจะเป็นชนเผ่าโส้  หรือ  กะโซ่ หรือข่ากะโซ่  ผสมกับคนลาว

การเล่าขานถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแถบนี้ทำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่หนาแน่นมากขึ้นตามลำดับ  โดยเฉพาะผู้คนต่างถิ่น  ในตำนานอุรังคธาตุ  บอกว่าหมื่นนันทอาราม  มีครัว  50,000 ครัว  อพยพมาอยู่ปากห้วยนกยูง หรือปากโมง  กลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มแรก  ที่อพยพขยายที่อยู่เข้ามาสู่บ้านน้ำโมง

กลุ่มเมืองเชียงใหม่  เป็นกลุ่มที่สองที่อพยพเข้ามาแถบนี้ เมื่อครั้งที่พระไชยเชษฐาธิราช  กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างที่ครองราชย์  ระหว่าง  พ.ศ. 2093 ถึง พ.ศ. 2115   เป็นโอรสของพระเจ้าโพธิสารราช  กับเจ้าหญิงยอดคำทิพย์  พระธิดาของพระเจ้าเกษเกล้าแห่งอาณาจักรล้านนา

เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่สวรรคต ไม่มีโอรสสืบสันติวงศ์บรรดาข้าราชการบริพารได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้ไปครองนครเชียงใหม่นานถึง 2  ปี ขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษาได้รับการถวายพระนามว่า เจ้าเชษฐาวงศ์

ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต  ได้เสด็จกลับครองหลวงพระบางอีกครั้งในคราวนั้นได้อัญเชิญ  พระแก้วมรกต  พระพุทธรูปสำคัญ   ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ลงมาด้วย

การเสด็จมาของพระไชยเชษฐาธิราชครั้งนั้น   ประกอบด้วย   ขบวนช้างเผือกเชือกสำคัญ  ขบวนผู้คนชายหญิงมากมายโปรดให้ตั้งพลับพลา  บริเวณ  นปข.  หน่วยปฏิบัติตามลำน้ำโขง   อำเภอ   ศรีเชียงใหม่  ในปัจจุบันเป็นทำเลที่เหมาะ

ต่อมาช้างเผือกคู่บุญบารมีล้ม  โปรดให้สร้างวัดครอบไว้  ชื่อวัดช้างเผือก (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอศรีเชียงใหม่)  โปรดให้สร้างอุบมุง  ประดิษฐานพระแก้วมรกตชั่วคราวในบริเวณใกล้พลับพลา

ทรงกำหนดให้ผู้ชายตั้งหลักปักฐานบริเวณบ้านหัวชาย  ต่อมาเพี้ยนเป็นหัวทรายตามลำดับ  ทรงกำหนดให้ผู้หญิง  อยู่บ้านกองนาง  และประชาชนอื่นๆ สามารถอยู่ในหมู่บ้านตลอดแนว  ฝั่งโขงได้อย่างอิสระด้วยเหตุที่มีความอุดมสมบูรณ์

ทรงย้ายราชธานีจากนครหลวงพระบางมาสถาปนากรุงศรีสัตนาคนหุตล้นช้างร่มขาวเวียงจันทร์  เมื่อ  พ.ศ. 2103

ทรงสร้างพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่  เรียกว่า  “พระเจ้าองค์ตื้อ “  ที่ นครเวียงจันทร์  1  องค์  เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระราชบิดา  บริเวณวัดเก่า  (วัดโกศีล) เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระราชมารดา  คือเจ้าหญิงยอดคำทิพย์

(น้ำหนัก  1 ตื้อ  หมายถึง ไม่สามารถจะวัดได้อีกแล้ว  ตื้อไปหมด )

พุทธศิลป์พระเจ้าองค์ตื้อ  เป็นศิลปะล้านช้างผสมล้านนา    ทรงปักเสาอินทขีล(เสาบัว)  บอกสัญลักษณ์ว่ากษัตริย์สร้าง

ทรงกำหนดให้เป็นพระราชพิธี   ที่กษัตริย์เวียงจันทร์ต้องเสด็จมานมัสการทุกเดือน  4  เมื่อครั้งพระองค์เสด็จมาพร้อมขบวน  ช้างม้ามาสักการะ  จากวัดท่าครกเรือ  อำเภอท่าบ่อ  ถึงวัดองค์ตื้อ ระยะทาง  10  กิโลเมตร  ถนนนี้เรียกว่า  ถนนจรดลสวรรค์

ทรงกำหนดข้าของพระเจ้าองค์ตื้อ  และทรงอนุญาตให้ข้าราชบริพาร  ประชาชนสามารถลงหลักปักฐานที่ตำบลแห่งนี้ได้

ดังนั้นชาวเชียงใหม่  จึงได้เข้ามาอยู่ในตำบลน้ำโมง  ตั้งแต่บัดนั้น  เช่น  สกุล หนันต๊ะ เป็นต้น

กลุ่มชาวโคราชเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอท่าบ่อ  ในช่วงสงคราม  ปราบกบฏเวียงจันทน์   ในสมัยรัชกาลที่ 3  แล้วชาวโคราชก็กระจัดกระจายอยู่ในบ้านน้ำโมงในที่สุด

กลุ่มชาวญวน  และลาว  อพยพเข้าสู่อำเภอท่าบ่อ  แล้วขยายตัวเข้ามาสู่ลำน้ำโมง  ในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2     บ้านน้ำโมงจึงเป็นปึกแผ่น  เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ

         ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ 

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำโมงไหลผ่านทางตอนเหนือของตำบล ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ มีการอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ

๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำโมงไหลผ่านทางตอนเหนือของตำบล ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ มีการอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ

๑.๔ ลักษณะของดิน

                                    ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว  และที่มีข้อจำกัดบ้างเกี่ยวกับดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและขาดแคลนน้ำได้ง่าย ส่วนดินที่เหมาะสมดีสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ทั้งหมด และที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีเนื้อที่

                        ๑.๕ ลักษณะของแห่งน้ำ

                                    ตำบลน้ำโมงเป็นตำบลที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติมากมายทั้งแม่น้ำ ห้วย ลำธารและคลอง บึง ซึ่งมีความสำคัญต่อการอุปโภค บริโภค และด้านการเกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่

แม่น้ำห้วยโมง ต้นกำเนินจากเขื่อนห่วยโมง ไหลผ่านอำเภอท่าบ่อ ไหลผ่านวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านโคกถ่ำ บ้านทุ่ม บ้านอุ่มเย็น บ้านท่าแดง บ้านท่าเจริญ

                     –  แหล่งน้ำธรรมชาติ

-ลำน้ำ/ลำห้วย            จำนวน  11      สาย

-บึง/หนอง                 จำนวน   15     แห่ง

 

 – แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

-ฝาย                       จำนวน    3     แห่ง

-บ่อน้ำ                     จำนวน    2     แห่ง

-บ่อโยก                    จำนวน   9      แห่ง

                                 ระบบชลประทานและพื้นที่รับน้ำชลประทาน

แหล่งน้ำชลประทานที่มีอยู่ภายในตำบลน้ำโมง มีจำนวน ๓ แห่งดังนี้

  1. สถานีสูบน้ำขลประทาน หมู่ที่ท 3 บ้านทุ่ม
  2. สถานีสูบน้ำขลประทาน หมู่ที่ท ๖ บ้านท่าสำราญ
  3. สถานีสูบน้ำขลประทาน หมู่ที่ท ๙ บ้านท่าเจริญ

๒.ด้านการเมือง/การปกครอง

          ๒.๑ ตำบลน้ำโมงตำบลน้ำโมงเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าบ่อ  มีจำนวน  13  หมู่บ้าน  อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมง  จำนวน  12  หมู่บ้าน นอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมง  จำนวน  1  หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๘ เป็นเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายเนื้อที่  มีพื้นที่ทั้งหมด  62,766  ตร.ม.  หรือประมาณ  39,229  ไร่

            ๒.๒ การเลือกตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น ๑๒ หมู่บ้า

น มีทั้งหมด ๒๔ คน ดังนี้

หมู่ที่ ๑ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๒ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๓ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๔ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๕ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๖ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๗ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๙ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๑๐ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๑๑ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๑๒ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

หมู่ที่ ๑๓ บ้าน น้ำโมง ประกอบด้วย สมชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน

  1. ประชากร

จำนวนหมู่บ้าน มีหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 12 หมู่บ้าน ประชากร 7,055 คน

ชาย 3,538 คน หญิง 3,517 คน จำนวนครัวเรือน 1,947 ครัวเรือน

แยกได้ดังนี้

หมู่ที่ จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม
1  บ้านน้ำโมง ๖9 ๑๐๕ 90 ๑๙5
2  บ้านน้ำโมง 70 141 102 243
3  บ้านทุ่ม 228 398 382 780
4  บ้านฝาง ๙9 166 185 351
5  บ้านอุ่มเย็น 193 415 ๓๙5 810
6  บ้านท่าสำราญ 157 277 261 538
7  บ้านหนองแวง ๒81 497 528 ๑,๐25
9  บ้านท่าเจริญ 193 356 367 723
10  บ้านสว่าง 246 451 473 924
11  บ้านโนนสวาท ๑11 165 186 351
12   บ้านท่าแดง 94 155 140 295
13  บ้านโนนสำราญ 206 412 ๔๐8 820
รวมทั้งหมด 1,947 3,๕38 3,๕17 ,๐55

ข้อมูล  ณ  เดือน  มีนาคม  25๖2

 
 
 
  1. สภาพสังคม

๔.๑ การศึกษา

-สถานศึกษาประถมศึกษา        จำนวน  4       แห่ง

-นักเรียน                            จำนวน 266     คน

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                จำนวน       1  แห่ง

-ครูผู้ดูแลเด็ก  ( ผ.ด.ด. )          จำนวน       2  คน

-ผู้ดูแลเด็ก                          จำนวน       ๒  คน

-เด็กเล็ก                             จำนวน   ๖๗    คน

-ศูนย์การเรียนชุมชน  (กศน.)    จำนวน     2     แห่ง

ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙

๔.๒ สาธารณสุข

               โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล         จำนวน 2    แห่ง ดังนี้

๑. โรงพยาบาลส่งเสิมสุขภาพตำบลน้ำโมง

๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่าสำราญ

๔.๓ สังคมสงเคราะห์

     ผู้สูงอายุ

            ประเทศไทยเข้าสู่สังคมอายุใน ปี พ.ศ.๒๕๕๕ คิดเป็นร้อยละ ๑๒ ปี ๒๕๕๖ คิดเป็น้อยละ ๑๓ ปี ๒๕๕๗ คิดเป็นร้อยละ ๑๔ ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนตำบลน้ำโมง พบว่าผู้สูงอายุในตำบลน้ำโมง ในตำบลน้ำมีมากขึ้นพบว่าผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่มีคนดูแล ไม่มีรายได้และสมควรได้รับการช่วยเหลือ มีแนวโน้ม เพิ่มข้นทุกปี จำนวนผู้สูงอายุ  ๗๙๗ ราย

     ผู้พิการ 

คนพิการในตำบลน้ำโมง  ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ มีผู้สุงอายุจำนวน ๒๑๒ ราย ซึ่งมีคนพิการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เมื่อดูจำนวนผู้พิการที่เข้าถึงการบริการทางสังคมก็พบคนพิการในตำบลจำนวนน้อยมากที่สามารถเข้าถึงการทางบริการ

    ผู้ป่วยเอดส์  

จำนวนผู้ป่วยเอดส์ในตำบลน้ำโมง    จำนวน 16 ราย

  • ระบบบริการพื้นฐาน

๕.๑ การคมนาคมขนส่ง ตำบลน้ำโมงมีเนื้อที่ทั้งหมด ๔๐.๖๙๘ ตารางกิโลเมตร หรือ (๒๕,๔๓๖ ไร่) มีถนนทั้งหมดดังนี้

ถนนคอนกรีต                       จำนวน  ๗๕  สาย

ถนนลาดยาง                        จำนวน     ๒  สาย

ถนนลูกรัง                           จำนวน     1๗ สาย

๕.๒ การไฟฟ้า

                      ประชาชนส่วนใหญ่มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

๕.๓ การประปา

                        ตำบลน้ำโมง มีระบบปะระปาหมู่บ้าน ดังนี้

                        -ประปาผิวดินขนาดใหญ่จำนวน                     ๗       แห่ง (หมู่ที่ ๒,๕,๖,๙,๑๐,๑๒,๑๓)

-ประปาแบบบาดาลขนาดใหญ่จำนวน     ๓        แห่ง (หมู่ที่ ๑,๓,๔)

๕.๔ โทรศัพท์

            ตำบลน้ำโมงมีหน่วยงานที่ให้บริการโทรศัพท์ คือ บริษัท ทีโอที จำกัด ปัจจุบันตำบลน้ำโมงมีผู้ใช้โทรศัพท์รวมทั้งสื้น ๑๐๐ หมายเลข โทรศัพท์บ้าน (เลขหมายผู้เช่า) จำนวน ๑๐๐ หมายเลข (ที่มา บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน)

๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

            ตำบลน้ำโมงมีหน่วยงานที่ให้บริการไปรษณีย์ คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ตำบลท่าบ่อ อำภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย บริการรับ-ส่งเอกสารต่างๆ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย

 

  • ระบบเศรษฐกิจ

 

๖.๑ การเกษตร ตำบลน้ำโมงส่วนมากจะทำการเกสร เช่น ปลูกข้าวนาปี/นาปัง/ยางพารา พริก/ยาสูบ/มันสำปะหลัง/อ้อยโรงงาน/ข้าวโพดหวาน/เป็นต้น

๖.๒ การประมง            ตำบลน้ำโมงมีพื้อนที่ลุ่มน้ำโมง จึงมีสภาพเหมาะสมต่อก่ฃารทำการเกษตรโดยเฉพาะการประมง ได้แก่ กาเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงปลานิลในกระชัง เป็นต้น

๖.๓ การปศุสัตว์ ตำบลน้ำโมงมีเนื้อที่ลาบลุ่ม จึงมีสภาพเหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่/ไก่พันธุ์เนื้อ/เลี้ยงเป็ดไข่/เลี้ยงหมู/เลี้ยงโค/กระบือ/แพะ/ห่าน เป็นต้น

๖.๔ การบริการ ตำบลน้ำโมงมีประชากรค่อยข้างมากและเจริญก้าวหน้า เหมาะแก่การบริการเช่น ร้านซ่อมรถมอร์เตอร์ไซด์/อู่ซ่อมรถยนต์/ร้านเสริมสวย/ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า/คลินิก เป็นต้น

๖.๕ การท่องเที่ยว

(๑) แหล่งท่องเที่ยวด้านศาสนา

– วัดศรีชมพูองคืตื้อ ในวัดวัดศรีชมภูองค์ตื้อ มีพระพุทธรูปหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นศูนย์รวมของจิตใจ  มีโบราณวัตถุที่สมควรอนุรักษ์ไว้นอกจากองค์พระพุทธรูปแล้ว  ก็มีเสาบัว  หรือเสาอินทขีล  ที่บอกถึงการเป็นวัดสำคัญที่กษัตริย์สร้าง  พระธาตุนกยูง  หน้าพระอุโบสถ  พระธาตุ 8  เหลี่ยม  ข้างพระอุโบสถ

วัดพระงามศรีมงคล  เดิมเชื่อวัดนิโครธารามมีศิลาจารึกเก่าแก่ที่ควรอนุรักษ์เผยแพร่

วัดพระยืนจำปาทอง  วัดพระนั่ง  วัดจำปานาคำ  วัดหนองยางคำ  เป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้า  องค์ตื้อที่ควรให้ความสำคัญ

ถ้ำมดง่าม    หนองโลเล  ที่มีประวัติที่มาควรแก่การรื้อฟื้น

ประเพณีบุญเดือน  4  วัดศรีชมภูองค์ตื้อ  เป็นประเพณีสมโภชหลวงพ่อ  มีการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงความสมบูรณ์  ซึ่งได้มีการรื้อฟื้นประเพณีบวงสรวงสมโภช มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522  โดยอาจารย์อาคม   ปัญญาทิพย์    และคณะได้จัดบวงสรวงสมโภช    ย้อนยุคเมื่อครั้งอดีตที่เจริญรุ่งเรืองได้ปรากฎมาจนถึงปัจจุบัน

๖.๖ อุตสาหกรรม

                        –ตำบลน้ำโมงไม่มีโรงงานอุสาหกรรมในเขตพื้อนที่

๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  การประมง เลี้ยงสัตว์และมีอาชีพเสริมคือ รับจ้างเย็บผ้าส่งบริษัท  ปลูกยาสูบ  ปลูกข้าวโพด  ฯ

2.หน่วยธุรกิจในเขต  อบต.

-มีปั๊มน้ำมันในตำบล                         ๑         แห่ง

-ร้านค้าชุมชน                                1        แห่ง

-โรงสีขนาดเล็ก                              8        แห่ง

-มีร้านค้าที่ทำกิจการส่งเป็นหลัก          1        แห่ง

-ร้านค้าปลีก                                  46       แห่ง

-ร้านบริการซ่อมยานยนต์                   11       แห่ง

-ร้านรับซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตร       3       แห่ง

-ร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้า                        3       แห่ง

-ฟาร์มไก่ไข่และบ่อปลา                     53      แห่ง

๖.๘ แรงงาน

            สถานการณ์ด้านแรงงาน ในปัจจุบัน ส่วนมากจะใช้แรงงานด้านการเกษตร เช่น ทำนา เลี้ยงปลาในบ่อดิน เล้ยงปลาในกระชัง จะได้ใช้แรงงานช่วย

๗. เศรษฐกิจพอเพียง (ด้านเกษตรและแหล่งน้ำ)

๗.๑ ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

หญิงชายหมายเหตุจำนวนประชากรเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีจำนวนประชากรอายุ 18-60 ปีจำนวนประชากรผู้สูงอายุอายุมากกว่า 60 ปีรวม3,517 คน3,538 คนทั้งสิ้น 7,055 คน

ส่วนบนของฟอร์ม

อบต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
 

จำนวนชุมชน

ชุมชน(ใส่เฉพาะตัวเลขเท่านั้น !!!)
ชุมชนที่ ชื่อชุมชน จำนวนครัวเรือน หญิง ชาย
1 ครัวเรือน คน คน
2 ครัวเรือน คน คน
3 ครัวเรือน คน คน
4 ครัวเรือน คน คน
5 ครัวเรือน คน คน
6 ครัวเรือน คน คน
7 ครัวเรือน คน คน
8 ครัวเรือน คน คน
9 ครัวเรือน คน คน
10 ครัวเรือน คน คน
11 ครัวเรือน คน คน
12 ครัวเรือน คน คน

ส่วนล่างของฟอร์ม

 

 

            ๗.๒ ข้อมูลด้านการเกษตร

            – การเกษตร ตำบลน้ำโมงส่วนมากจะทำการเกสร เช่น ปลูกข้าวนาปี/นาปัง/ยางพารา พริก/ยาสูบ/มันสำปะหลัง/อ้อยโรงงาน/ข้าวโพดหวาน/เป็นต้น

– การประมง     ตำบลน้ำโมงมีพื้อนที่ลุ่มน้ำโมง จึงมีสภาพเหมาะสมต่อก่ฃารทำการเกษตรโดยเฉพาะการประมง ได้แก่ กาเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงปลานิลในกระชัง เป็นต้น

– การปศุสัตว์ ตำบลน้ำโมงมีเนื้อที่ลาบลุ่ม จึงมีสภาพเหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่/ไก่พันธุ์เนื้อ/เลี้ยงเป็ดไข่/เลี้ยงหมู/เลี้ยงโค/กระบือ/แพะ/ห่าน เป็นต้น

            ๗.๓ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำการเกษตร

ระบบชลประทานและพื้นที่รับน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร

แหล่งน้ำชลประทานที่มีอยู่ภายในตำบลน้ำโมง มีจำนวน ๓ แห่งดังนี้

  • สถานีสูบน้ำขลประทาน หมู่ที่ท 3 บ้านทุ่ม
  • สถานีสูบน้ำขลประทาน หมู่ที่ท ๖ บ้านท่าสำราญ
  • สถานีสูบน้ำขลประทาน หมู่ที่ท ๙ บ้านท่าเจริญ

๗.๔ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

                        ตำบลน้ำโมง มีระบบปะระปาหมู่บ้าน ดังนี้

                        -ประปาผิวดินขนาดใหญ่จำนวน                     ๘        แห่ง (หมู่ที่ ๒,๕,๖,๗,๙,๑๐,๑๒,๑๓)

-ประปาแบบบาดาลขนาดใหญ่จำนวน     ๓        แห่ง (หมู่ที่ ๑,๓,๔)